โรคออฟฟิศซินโดรม

เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ อิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ทั้งนั่งหลังค่อม นั่งทิ้งน้ำหนักลงไปขาด้านใดด้านหนึ่ง นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานหลายชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท หากมีความเครียดก็จะส่งผลต่อโรคนี้อยากมากเช่นกัน สภาพโต๊ะ เก้าอี้ ที่ใช้ทำงานไม่เหมาะสม ก็มีผลให้เกิดโรคนี้ได้ บางคนนั่งทำงานเพลินจนลืมรับประทานอาหาร อดหลับอดนอนเพื่อให้งานเสร็จ ทำให้ร่างกาpต้องแบกรับความตรึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย จึงเป็นที่มาของโรคหลายโรค อาทิเช่น

  • โรคนอนไม่หลับ โรคนอนไม่หลับ เกิดจากภาวะเครียด ถือเป็นโรคยอดฮิตสำหรับคนวัยทำงานเลยทีเดียว เกิดได้ทั้งคนที่ทำงานมานาน และเพิ่งทำงาน บางคนจะไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังเครียดอยู่ หรือกำลังเจอภาวะตรึงเครียดรุมเร้าอยู่ วิธีการหลีกเลี่ยงที่ง่ายที่สุด คือ พยายามไม่ให้เครียด และรู้จักผ่อนคลาย
  • โรคอ้วน เกิดขึ้นได้เพราะชอบนั่งทำงานไป และก็รับประทานไปด้วย ไม่ยอมออกกำลังกาย ที่คนทำงานออฟฟิศหลายๆ คนชอบทำ คือ การนั่งรับประทานอาหารหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทานไป นั่งทำงานไป บางคนก็ขนมคบเคี้ยววางเรียงเต็มหน้า ชนิดที่ว่าไม่ต้องลุกออกจาก เก้าอี้กันเลยทีเดียว วิธีหลีกเลี่ยงที่ง่ายที่สุดคือ ควรจัดสรรค์เวลาให้ถูกต้อง เวลากิน กับเวลาทำงาน ใส่ใจเรื่องการกินให้มากขึ้น เลือกกินของที่มีประโยชน์ และหาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่างและหูรูด ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลงในบางคน ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการ ไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน นอกจากจะเกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร หรือความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารในตัวผู้ป่วยเองแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นเสริมอีกด้วย เช่น
    • กินเสร็จอิ่มๆ หรือกินอาหารเสร็จยังไม่ถึง 4 ชั่วโมงแล้วนอน
    • Hiatus hernia คือ โรคที่เกิดจาก กระเพาะอาหารส่วนต้น ยื่นเข้าไปกะบังลม
    • สูบบุหรี่
    • ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์, น้ำอัดลม
    • รับประทานอาหารประเภท ของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด
  • โรคปวดหลัง เรื้อรัง การใช้ชีวิตอยู่ หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายๆ ชั่วโมง อิริยาบถในการนั่งไม่ถูกวิธี มีโอากาสทำให้เกิดโรคปวดหลังเรื้อรังได้
  • โรคไมเกรนหรือโรคปวดหัวข้างเดียว เป็นความผิดปกติทางประสาทเรื้อรังอย่างหนึ่ง ลักษณะเด่นคือปวดศีรษะปานกลางถึงรุนแรงเป็นซ้ำ มักสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทอิสระจำนวนหนึ่ง อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง เสียงหรือกลิ่น
  • มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อก การอักเสบของ ปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ พบกันมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนาน ๆ การใช้สมาร์ทโฟน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท และเส้นเอ็นจนอักเสบ จนเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการปวดของปลายประสาทนิ้วล็อค หรือข้อมือล็อก
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี การกินอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำอาจก่อให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งมักพบในหญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป คนอ้วนมักเป็นโรคนี้มากกกว่าคนผอม โดยยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้ เช่น กรรมพันธุ์ การอักเสบและการคลั่งของน้ำดีในถุงน้ำดี การทานยาคุมกำเนิดเป็น เวลานานๆ โดยเมื่อเป็นนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว ถ้าไม่รีบรักษาอาจจะก่อให้เกิดอาการเรื้อรังตามมาได้
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการนั่งทำงานนานๆ จนบางครั้งลืมเข้าห้องน้ำ หรือบางที่ก็ต้องเดินทางไกล ทำให้ต้องอั้นปัสสาวะเป็นประจำ เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบ โดยโรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • โรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ไม่มีอาการมักพบเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเกิดจากปัจจัยบางอย่าง ได้แก่ การมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้แบบไม่ทราบสาเหตุ จะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนอื่น ๆ ถึง 3 เท่า นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคอ้วน ความเครียด การรับประทานอาหารรสเค็ม การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะในสำนักงาน จะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ทำงานใช้กำลัง ความดันโลหิตสูงไม่ใช่แค่เรื่องความดัน แต่อาจนำมาซึ่งเส้นเลือดแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย พิการ และหัวใจวายอีกด้วย

 

โรคออฟฟิศซินโดรม

 

โรคออฟฟิศซินโดรม